หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต”เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน... อ่านเพิ่มเติม
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559
เนื้อเรื่องย่อ
นายประพันธ์ ประยูรสิริ
เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ
เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ
ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นายประเสริฐ สุวัฒน์ ที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ
ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้
ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ
แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ
แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางชุนฮูหยิน
สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส
และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ
แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร
สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก
หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน
ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนคร ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถึง ๗ คน
ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน
ครั้นประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์
อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดี
เพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน
แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับ
หลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก
ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ
ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน
ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต..อ่านเพิ่มเติม
คำศัพท์
ครึ
|
เก่า ล้าสมัย
|
||
โช
|
Show อวดให้ดู
|
||
เทวดาถอดรุป
|
มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
|
||
แบขะเล่อร์
|
Bachelor ชายโสด
|
||
ปอปูลาร์
|
Popular ได้รับความนิยม
|
||
พิสดาร
|
ละเอียดลออ กว้างขวาง
|
||
พื้นเสีย
|
อารมณ์เสีย หมายถึง โกรธ
|
||
ไพร่ๆ
|
คนสามัญ ชาวบ้าน
|
||
เรี่ยม
|
สะอาดหมดจด เอี่ยมอ่อง วิเศษ ดีเยี่ยม
|
||
ลอยนวล
|
ตามสบายไม่มีผู้ใด ขัดขวางจับกุม
|
||
สิ้นพูด
|
หมดคำพูดที่จะกล่าว
|
||
หมอบราบ
|
ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
|
||
หมายว่า
|
คาดว่า
|
||
หลวง
|
บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนนางและต่ำกว่าพระ
|
||
หัวนอก
|
คนที่นิยมแบบฝรั่ง
|
||
หัวเมือง
|
ต่างจังหวัด
|
||
อยู่ข้าง
|
ค่อนข้าง
|
||
อินเตอเรสต์
|
Interest ความสนใจ
|
||
เอดูเคชั่น
|
Education การศึกษา
|
||
ฮันนี่มูน
|
Honrymoon การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่
|
||
ลักษณะคำประพันธ์
หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด
18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23
กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30
มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี
พ.ศ.ไว้
2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ
ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน…” “แต่เพื่อน…” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์
เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น
ที่ไม่มีคำลงท้าย
4).การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน
คือ“บริบาลบรมศักดิ์”โดยตลอด แต่ฉบับที่
1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์
5).ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด
เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์.. อ่านเพิ่มเติม
ข้อคิดที่ได้รับ
1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ
3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย
4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย
5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)